ช่องโหว่และจุดอ่อนของ Mikrotik ความปลอดภัยของ Mikrotik และการคอนฟิก Winbox เพื่อปิดช่องโหว่ต่างๆ ให้ปลอดภัย การออกแบบและวางตำแหน่งของ Firewall ให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยทั้งเครือข่ายภายในและภายนอก หลักการสร้างกฏของ Firewall ใน Mikrotik ทำความเข้าใจกับฟังก์ชั่นและคำสั่งต่างๆ ที่สำคัญของ Firewall ใน Mikrotik การอ่าน Packet Flow ของ Mikrotik ให้เข้าใจและนำไปใช้งานได้ รู้จักและทำความเข้าใจกับ Connection Tracking การคอนฟิกและรู้จักสถานะต่างๆ ของ Connection State เพื่อความปลอดภัยของ Mikrotik การคอนฟิก Firewall เพื่อป้องกันการโจมตีจาก Hacker และ Virus ทั้งจากเครือข่ายภายในและภายนอก รู้จักการใช้ Mangle เพื่อควบคุมการทำงานโดยการทำ Mark Connections และ Packets การคอนฟิก Firewall เพื่อบังคับ Packet จากเครื่อง Client ให้ออกไปยังทิศทางหรือพอร์ตปลายทางที่ต้องการ ทดสอบการโจมตีแบบ DDoS และการคอนฟิก Firewall เพื่อป้องกัน ทดสอบการสแกนพอร์ตและการคอนฟิก Firewall เพื่อป้องกัน การดักจับ Packet ในระดับ Layer 7 เพื่อสร้างกฏควบคุมการใช้งานต่างๆ ของเครื่อง Client การทำ Port Knocking เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับ Services ต่างๆ ที่เปิดให้เครื่องจากภายนอก (WAN) เข้ามาใช้บริการในเครือข่าย LAN ทำความรู้จักกับการทำงานของ QoS และประเภทของ Queue ใน Mikrotik ทำความเข้าใจกับ Hierarchical Token Bucket (HTB) ที่เป็นส่วนสำคัญในการทำ QoS การคอนฟิก HTB Queue Tree การคอนฟิก PCQ เพื่อเฉลี่ยความเร็วให้กับเครื่อง Client ตามความเหมาะสมกับ Bandwidth ที่มี การใช้ Mangle จับ Packets เพื่อกำหนดความเร็วใน Queues ตามที่ต้องการ การทำ Dynamic Queues เพื่อจัดสรรและเปลี่ยนแปลงความเร็วตามช่วงเวลาหรือการใช้งานของเครื่อง Client โดยอัตโนมัติ |
ผู้ต้องการใช้ Mikrotik เป็น Firewall อย่างจริงจัง
ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Gateway ที่ใช้ในการออกอินเทอร์เน็ตได้เพียงอย่างเดียว
แต่ต้องสามารถป้องกันการโจมตีจากภัยคุกคามต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
ไม่ว่าจะเป็น Hacker หรือไวรัสต่างๆ ต้องการเข้าใจการทำงานของ Firewall ใน Mikrotik เพื่อเรียนรู้วิธีการวางตำแหน่งของ Firewall, การออกแบบกฏ และความสำคัญของการจัดเรียงกฏ และคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ควบคุมการทำงานของ Firewall ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างกฏให้เหมาะสมกับการทำงานของตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งสคริปต์ต่างๆ ของผู้อื่น ต้องการนำ Mikrotik มาแทนที่ Firewall เดิมที่มีราคาสูง ในบางครั้งงานของเราอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้ Firewall ประเภท Application Firewall หรือ NextGen Firewall ที่มีราคาสูง และมีค่า MA รายปีที่ต้องจ่าย เราก็สามารถใช้ Mikrotik เข้ามาแทนที่ Firewall เหล่านั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้งาน Mikrotik เมื่อเปรียบเทียบกับ Firewall เดิมที่มีการใช้งานอยู่แล้วด้วย ต้องการป้องกันไม่ให้ Mikrotik ถูก Hack เนื่องจาก Mikrotik เป็นอุปกรณ์ Network ที่มีความสามารถหลากหลาย ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าต้องการคอนฟิกให้ทำงานด้านใด ดังนั้นหากคอนฟิกไม่ดีก็อาจทำให้มีช่องโหว่จนผู้ไม่หวังดีสามารถเข้ามาโจมตี Mikrotik ของเราได้ หลักสูตรนี้จะแนะนำวิธีการทำ Hardening เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้ Mikrotik ถูก Hack หรือถูกโจมตีด้วยวิธีการต่างๆ ต้องการควบคุมความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบมีคุณภาพ Mikrotik มีความสามารถที่โดดเด่นในเรื่องของการจัดการ Bandwidth หรือ Traffic Control เพื่อบริการจัดการความเร็วในระบบเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ตที่มีอย่างจำกัดให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมและราบรื่นไม่ติดขัด โดยไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ราคาแพงเพื่อมาควบคุมปัญหาด้านนี้โดยเฉพาะ |
2 วัน | |
Intermediate | |
Thai | |
Self-paced | |
- | |
- | |
- | |
- |